Introduction
ชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์
- ภาษาอังกฤษ : Master of Engineering Program in Polymer Science and Engineering
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็มภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์)
- ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Engineering (Polymer Science and Engineering)
- ชื่อย่อภาษาไทย : วศ.ม. (วิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์)
- ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Eng. (Polymer Science and Engineering)
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ปรัชญา
มุ่งเน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูงทางด้านสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ และมีความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีการบูรณาการศาสตร์ และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพนักวิจัย
- ความสำคัญ
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีความชำนาญในการวิจัยทั้งทางด้านวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ
- วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ ผู้มีความรู้ความสามารถ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ และมีการจัดการที่ดี
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพอลิเมอร์ชีวภาพเพื่อสนองต่อการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ชีวภาพของประเทศไทย
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้วยการส่งเสริมให้ทำงานวิจัยด้านวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ และนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนรู้จักการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ รวมทั้งมีความเป็นผู้นำและมีคุณธรรม และเป็นผู้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
PLO1 อธิบายความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์อย่างเข้าใจ
PLO2 ใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ในงานวิจัยอย่างเชี่ยวชาญ และบริหารจัดการได้
PLO3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
PLO4 วิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ได้
PLO5 ประเมินการปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบวิธีวิจัยได้
PLO6 สร้างผลงานวิจัยใหม่จากพื้นฐานวิชาการในสาขาวิชาอย่างสร้างสรรค์
PLO7 แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัย
PLO8 นำเสนอแนวคิด และอธิบายข้อวิพากษ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเองได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
PLO9 ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความรับผิดชอบ แสดงออกถึงภาวะผู้นำ และแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของในงานที่ทำ
PLO10 เลือกแนวทางในการประเมินและตัดสินใจในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติต่อสังคม อย่างมีส่วนร่วม
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท ครั้งแรกในปี พ.ศ.2544 ซึ่งเป็นเวลามากกว่า 23 ปี ที่หลักสูตรฯ ได้ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการในระดับสูงทางด้านสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ออกไปสู่ตลาดแรงงาน โดยทำงานวิจัยและพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของประเทศไทย หลักสูตรฯ เน้นกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ และฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิจัยโดยผ่านประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ในงานวิจัยทางสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ที่มีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
ปัจจุบันมีมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรฯ จำนวน 233 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2567)
Committees
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกาญจน์ หงส์ศรีพันธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย เลิศวิจิตรจรัส
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดศิริ เหมศรี
Documents (TQF.2)
Short Communication (PDF)
M.Eng (Thai) : 2544 / 2550 / 2556 / 2561 / 2566
Full Description (PDF) :
M.Eng (Thai) : 2544 / 2550 / 2556 / 2561 / 2566
Graduation Request
1. ขั้นตอนการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์
2. การอนุมัติหัวข้อและแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
3. การสอบวิทยานิพนธ์ (THESIS) เพื่อสำเร็จการศึกษา
4. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
5. ขั้นตอนการขอสำเร็จการศึกษา
Rewards & Awards
Activities