ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติเพื่องานวิจัยที่สร้างสรรค์ โดยได้เรียนเชิญ Prof. Alejandro J. Müller (IKERBASQUE) Research Professor at POLYMAT and UPV/EHU University of the Basque Country UPV/EHU in Donostia-San Sebastián, Spain. Emeritus Professor from Simón Bolívar University (Venezuela) Editor for POLYMER (Elsevier), IF (2018): 3.771 (Q1) มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง“Crystallization and morphology of isomorphic and isodimorphic random copolymers” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในการวิจัยและพัฒนาหรือความรู้ใหม่ ๆ ด้านวัสดุพอลิเมอร์ และเพื่อเปิดมุมมองทางด้านงานวิจัย และสร้างแนวคิดใหม่ให้กับนักศึกษาและบุคลากร เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2562 เวลา 10.00-11.45 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานบริหารการวิจัยนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้มีคณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจจากหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 46 คน
นายพงศกร นุชนงค์ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ พร้อมด้วยนายธนะวัตติ์ ขวัญพิพัฒน์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ไปเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนเพื่อไปศึกษา และทำวิจัยระยะสั้น ณ Faculty of Engineering and Graduate School of Science and Engineering, Yamagata University ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อวันที่ 7 – 20 กรกฎาคม 2562 ภายใต้ข้อตกลงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (Memorandum of Understanding) ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ Faculty of Engineering and Graduate School of Science and Engineering, Yamagata University
นายกวินทร์ กีรติพินิจ นักศึกษานักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ สังกัดภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ โดยมี ผศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ได้เดินทางไปเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน เพื่อไปศึกษาวัฒนธรรม ศึกษากิจกรรมต่างๆ และการวิจัย ณ Faculty of Engineering and Graduate School of Science and Engineering, Yamagata University ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อวันที่ 10 – 25 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ข้อตกลงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (Memorandum of Understanding) กับ Faculty of Engineering and Graduate School of Science and Engineering, Yamagata University
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้จัดโครงการ “คืนสู่เหย้าชาววัสดุ ครั้งที่ 1” เมื่อวันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2561 ณ อาคารหอประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้เพื่อสานความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษารุ่นปัจจุบันพบปะสังสรรค์กับรุ่นพี่ ซึ่งเป็นโอกาสเปิดโลกทัศน์ในเส้นทางการทำงาน และเพื่อรวบรวมความคิดเห็นของศิษย์เก่าในการปรับปรุงหลักสูตร โดยการจัดโครงการในครั้งนี้ มีศิษย์เก่า สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี จำนวนร้อยกว่าคนเข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและการศึกษาต่อระหว่างกัน และถ่ายทอดให้กับรุ่นน้องๆ ของหลักสูตรฯ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวของรุ่นน้อง ตลอดจนเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นในประชาคมวัสดุ
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) จัดกิจกรรม CAREER ROADSHOW ซึ่งเป็นการเปิดรับสมัครนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเข้าทำงานและเปิดรับสมัครนักศึกษาที่สนใจฝึกงานกับบริษัท SCG อีกทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ในการเขียน RESUME และเทคนิคการสัมภาษณ์งาน จัดขึ้นในวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561 เวลา 9.00-12.00 น. ณ อาคารหอประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ
หัวหน้าภาควิชาฯ (ผศ.ดร.นิติ ยงวณิชย์) เข้าร่วมงานพิธีไหว้ครู “เทคโนวันทา” พร้อมรับมอบพานไหว้ครู และมอบทุนการศึกษาในส่วนของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาดูงานศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต รวมถึงเพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทการเป็นนักวิจัยที่มีต่อการพัฒนาประเทศ และการบริการทางด้านการทดสอบทางด้านวัสดุและพลาสติก เมื่อวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2561 ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์
สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี สังกัดภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ได้จัดโครงการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง ให้กับโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ (Symposium) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปีการศึกษา 2561 โดยจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2561 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้ฝึกทักษะการปฏิบัติการ การใช้สารเคมี วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ซึ่งนักเรียนจะได้รับประสบการณ์จริง อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่จะประชาสัมพันธ์หลักสูตรของภาควิชาฯ และเป็นการบูรณาการการวิจัยกับการบริการวิชาการด้วย ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนราชินีบูรณะ ในการร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนานักเรียนของโรงเรียนและนักศึกษาคณะวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมีนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายภาคกลางตอนล่างเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 410 คน
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การทดสอบแบบไม่ทำลาย (NDT) ประจำปีการศึกษา 2560 โดย ดร.ปรัชญา เพียสุระ จาก KMUTT มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อเรื่อง Visual testing, penetrant testing, ultrasonic testing, magnetic testing, radiographic testing ในวันอาทิตย์ที่ 22 และ 29 เมษายน 2561 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ให้กับนักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี ในการก้าวสู่การประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความเสียหายของวัสดุวิศวกรรม
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ จัดโครงการอมรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้โปรแกรม Microsoft Word และโปรแกรม Microsoft Excel ให้กับนักศึกษาของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ประจำปีการศึกษา 2560” วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.ศราวุธ ภู่ไพจิตร์กุล เมื่อวันที่ 3 – 4 เมษายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2303 ชั้น 3 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งภาควิชาฯ ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computing and IT literacy) ซึ่งนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้เกือบทุกรายวิชา หรือนำไปประยุกต์ใช้เมื่อไปปฏิบัติงานในองค์กรทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในอนาคตต่อไป
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) โดย ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ สถาปนิกและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (The Research and Innovation for Sustainability Center- RISC) และทีมงาน ได้จัดกิจกรรม Career Roadshow ให้กับนักศึกษาชั้นปี 3-4 สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี เพื่อเปิดมุมมองการทำงานให้นักศึกษาในสาขา เนื่องจากนวัตกรรมวัสดุเป็นที่ต้องการอย่างมาก เช่น วัสดุประหยัดพลังงาน วัสดุมวลเบา วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบวัสดุฉลาด เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 ณ ห้อง ท.824 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้บริหารจาก บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการร่วมมือเชิงวิชาการ การฝึกงาน พร้อมแนะนำ BG Glass Academy วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมี ผศ.ดร.นิติ ยงวณิชย์ หัวหน้าภาควิชาฯและผู้รักษาการแทนรองคณบดีฯ และ ผศ.ดร.ภัทร์ สุขแสน ประธานหลักสูตรวิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ มีศิษย์เก่าของสาขาทำงานอยู่ในเครือฯ ด้วยแล้ว
ศิษย์เก่าสาขาวัสดุฯ รุ่น 8 เข้าร่วมกิจกรรม job fair ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยเป็นตัวแทนบริษัท Torrecid (Thailand) พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการ สมัครงานแก่น้อง ๆ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร์ สุขแสน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี ได้รับเชิญจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เจรจาความร่วมมือด้านวิจัยกับ บริษัท สยามอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ จำกัด ในเครือ SCG เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาต่อไปในอนาคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560
Credit: Facebook Petromat
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติสำหรับหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ หัวข้อเรื่อง “Graphene and its applications” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายของเทคโนโลยีกราฟีน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เปิดมุมมองทางงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ และสร้างแนวคิดใหม่ๆ ทางการวิจัยและพัฒนาจากเทคโนโลยีกราฟีน เมื่อวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง ท.427 ชั้น 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ดำเนินรายการโดย นายศรวิษฐ์ ด้วงศรีพัฒน์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
คุณวรพงษ์ ชวลิตอัมพร นักวิจัยอาวุโส บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้มาให้ความรู้ด้าน Polyurethane reaction and application กับนักศึกษาของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ ๆ จากทางภาคอุตสาหกรรม และเพื่อให้นักศึกษานำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยในอนาคต เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เป็นหน่วยงานร่วมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 1st Materials Research Society of Thailand International Conference (MRS-Thailand 2017) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์ประชุมดิเอ็มเพลสเชียงใหม่ โรงแรมดิเอ็มเพลส อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมความร่วมมือทางงานวิจัยและวิชาการระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของไทยและต่างประเทศ เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ได้เรียนรู้จากนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นระดับประเทศและระดับโลก ทั้งนี้มีคณาจารย์ และนักศึกษาของภาควิชาฯ เข้าร่วมประชุมดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 20 ท่าน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ได้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือในการทำงานวิจัย ณ Yamagata University yonezawa, Japan ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากร พัฒนางานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรต่อไป
นางสาวนันทนิฒณ์ ภทรพีทรานันฐ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ได้เดินทางไปทำการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ชาวต่างประเทศ ณ Department of Energy Conversion and Storage, Technical University of Denmark ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นระยะเวลาคนละ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 – 31 สิงหาคม 2560
นายอภิวัฒน์ ด่านแก้ว นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ได้เดินทางไปทำการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ชาวต่างประเทศ ณ Department of Energy Conversion and Storage, Technical University of Denmark ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นระยะเวลาคนละ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559 ซึ่งการได้รับทุนการศึกษาดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีความตั้งใจ กระตือรือร้นและขวนขวายในการศึกษาและการทำวิจัยมากขึ้น
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติสำหรับหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ หัวข้อเรื่อง “Development of biobased polymer having poly(lactic acid) side chains by using grafting – through technique” ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Kiyoaki Ishimoto อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในการวิจัยและพัฒนาหรือความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ และด้านพลาสติกชีวภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้ไปประยุกต์ใช้หรือเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานวิจัยต่อไป เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้อง ท.119 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ดำเนินรายการโดย นางสาวภรวลัญช์ นันท์ธนานนท์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติสำหรับหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ หัวข้อเรื่อง “Research in the Fields of Petrochemical and Materials: Challenges and Opportunities” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในการวิจัยและพัฒนาหรือความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีด้านปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้และความเข้าใจที่ได้ไปประยุกต์ใช้ หรือเป็นแนวคิดในการทำวิจัยต่อไป เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้อง ท.119 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ดำเนินรายการโดย นางสาวนันทนิฒณ์ ภทรพีทรานันฐ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติเพื่องานวิจัยที่สร้างสรรค์ หัวข้อเรื่อง “MRI and diffusion with applications from medicine to chemistry” ภาควิชาฯ จึงได้เชิญนักวิจัยที่มีชื่อเสียงทางด้าน Nanotechnology คือ Professor William S. Price (Bill Price) จาก School of Science and Health, University of Western Sydney ประเทศ Australia มาเป็นผู้บรรยายพิเศษการนำเทคนิค MRI ไปใช้ในงานด้านต่างๆ ครอบคลุมงานด้านการแพทย์ งานทางด้านวัสดุศาสตร์ เคมี และเกษตรกรรม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ในวิชาการด้านวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ ที่จะช่วยในการพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และการพัฒนาความร่วมมือวิชาการและวิจัยไปสู่นานาชาติให้กับนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08.30-10.00 น. ณ ห้อง ท. 119 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้ศิษย์เก่าทางด้านการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรม” เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้ศิษย์เก่า เพื่อให้ศิษย์เก่าได้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเป็นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ให้กับศิษย์เก่านำไปประยุกต์ใช้ หรือเป็นแรงบันดาลในในการทำงานต่อไป
โดยจัดให้มีการบรรยายจากอาจารย์ในภาควิชาฯ และมีการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ เทคนิคการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเครื่องมือของทางภาควิชาฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557 ณ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ
ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ โดยอาจารย์ ดร.นฤทธิ์ ตรีอำนรรค ได้พานักศึกษาใน “โครงการฝึกฝนทักษะด้านงานวิจัยภาคฤดูร้อน Best Practice (ครั้งที่ 4)” สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และสาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี จำนวน 28 คน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตของบริษัท เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกันสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคตให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว