B.Eng.-Petrochemicals and Polymeric Materials


Introduction

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์
  • ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Petrochemicals and Polymeric Materials 

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์)
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Petrochemicals and Polymeric Materials)
  • ชื่อย่อภาษาไทย : วศ.บ. (ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์)
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Eng (Petrochemicals and Polymeric Materials)

แนะนำหลักสูตรสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์

หลักสูตรสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนและการวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 นับเป็นสาขาวิชาแรกๆ ของคณะฯ และเป็นสาขาวิชาที่นักศึกษาที่มีผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับดี นิยมเข้าศึกษามากที่สุดสาขาหนึ่งของประเทศ และนักศึกษาที่เข้าศึกษาในสาขาวิชานี้มีสิทธิได้กู้ยืมเงินจาก กยศ. และ กรอ. ในลำดับต้นๆ ตามนโยบายของรัฐบาลเนื่องจากเป็นสาขาขาดแคลน

ศาสตร์ด้านปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ จัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ที่เกิดจากการผสมผสานศาสตร์ด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการจัดการเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้หลักสูตรนี้มีลักษณะเป็นพหุวิทยาการ (multidisciplinary) ในลำดับแรกๆ ของประเทศไทย และมีลักษณะเป็นพหุวิทยาการเหมือนกับหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ในปัจจุบันของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิดสอนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยในหลักสูตรสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์นี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงกระบวนการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับสารปิโตรเลียม เช่น น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ตลอดจนวัสดุจากธรรมชาติให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้เป็นหลายเท่าตัว ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีอินทรีย์ (organic chemicals)  ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี พลาสติก ยาง สารเคลือบผิว กาว สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เชิงบริโภค (consumer products) ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร (agrochemicals) วัสดุพอลิเมอร์สมรรถนะสูง (high performance polymers) วัสดุเสริมองค์ประกอบ (composite materials) วัสดุพอลิเมอร์ประเภทย่อยสลายง่าย (biodegradation polymers) เส้นใยคาร์บอน (carbon fiber) และคาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) เป็นต้น นอกจากนี้ในการศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ นักศึกษายังจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างโมเลกุลและสมบัติ การสังเคราะห์สารปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ด้วยเทคนิคต่างๆ กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบต่างๆ การเลือกใช้และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการดัดแปร (modification)  ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ต่างๆ ให้มีสมบัติเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติเหมาะสมตามความต้องการของตลาดในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เชิงบริโภค ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอากาศยาน ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านสื่อสารโทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์เพื่อทำที่อยู่อาศัย  เป็นต้น

Committees

รองศาสตราจารย์ มาณพ ปานะโปย
รองศาสตราจารย์ อาชาไนย บัวศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์ฉาย ทองปิ่น
รองศาสตราจารย์ ดร.พูนทรัพย์ ตรีภพนาถกูล
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์
อาจารย์ ดร.ศราวุธ ภู่ไพจิตร์กุล
อาจารย์ ดร.อำนาจ สิทธัตตระกูล

Documents

Short Communication (PDF) :  2547 / 2550 / 2555 / 2560 / 2565
Full Description (PDF) : 2547 / 2550 / 2555 / 2560 / 2565